ผลงานคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2561 (พฤษภาคม 2561-พฤษภาคม 2562)

องค์ประกอบที่ 2 งานวิจัย

 

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1               ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ชนิดของตัวบ่งชี้           กระบวนการ

ผลดำเนินงาน

 

ในปีการศึกษา 2561 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีผลการดำเนินการครบทั้ง 6 ข้อ ตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดังนี้

  1. มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์พันธกิจด้านการวิจัยของคณะสังคมศาสตร์ คือ การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากลด้วยเหตุนี้คณะสังคมศาสตร์จึงได้จัดทำระบบสารสนเทศฐานข้อมูลด้านการบริหารจัดการงานวิจัย งานสร้างสรรค์ ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำคณะและฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์เชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศด้านการวิจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย มีประกาศและหลักเกณฑการบริหารงานวิจัยสงเสริมการทําผลงานวิจัยและเผยแพรงานวิจัย, มีระเบียบการใชงานคอมพิวเตอรและการใชเครือข่ายของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, มีแผนและงบประมาณสงเสริมและสนับสนุนการทําผลงานวิจัยและการตีพิมพเผยแพรผลงานวิจัย, มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยผานระบบ NRMS และขั้นตอน การดําเนินงานวิจัย, มีการประชาสัมพันธเผยแพรประกาศ หลักเกณฑและขอมูลตางๆ ดานงานวิจัย ผานเว็บเพจของคณะสังคมศาสตร์และสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ และระบบสารบรรณออนไลน NRMS, มีการเผยแพรคูมือจรรยาบรรณนักวิจัยเปนแนวทางสําหรับนักวิจัยยึดถือปฏิบัติ เพื่อใหการดําเนินงานวิจัยตั้งอยูบนพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรม หลักวิชาการที่เหมาะสม มาตรฐานของการศึกษาคนควาใหเปนไปอยางสมศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของนักวิจัย และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการทำผลงานวิจัย, มีคณะกรรมการของสถาบันวิจัยหน่วยงานหลักในการสนับสนุนงบประมาณการวิจัย และคณะสังคมศาสตร์เปนกลไกสำคัญในการทำหน้าที่กำกับดูแลสนับสนุนและสงเสริมการทํางานวิจัย พิจารณาทุนวิจัยกอนเสนอคณะกรรมการของสถาบันวิจัยตอไป และติดตามการดําเนินงานวิจัยใหเปนไปตามแผนงานวิจัย, มีการติดตามของคณะสังคมศาสตร์เกี่ยวกับการดําเนินงานวิจัยใหเปนไปตามแผนและการบริหารงานวิจัยที่กําหนดไว้, มีฐานขอมูลผลงานวิจัย เพื่อเผยแพร และบริหารงานวิจัยที่สามารถนําไปใช ประโยชนในงานวิจัยหรืองานสรางสรรค

และมีการปรับปรุงเพิ่มเติมข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อให้นักวิจัยจากภายนอกและอาจารย์ประจำสามารถเข้าไปสืบค้นงานวิจัยหรือเข้าถึงฐานข้อมูลได้ คณะสังคมศาสตร์นำฐานข้อมูลด้านงานวิจัยดังกล่าวมาใช้ในการวางแผนและควบคุมการดำเนินงานรวมถึงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านระบบและกลไกในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 

  1. คณะสังคมศาสตร์สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในประเด็นต่าง ๆ ทางด้านทรัพยากรการเงิน ทรัพยากรด้านสิ่งแวดล้อม และห้องปฏิบัติการค้นคว้าวิจัยดังนี้ ห้องปฏิบัติการวิจัย
    ห้องคอมพิวเตอร์ของคณะสังคมศาสตร์สำหรับค้นคว้าข้อมูลออนไลน์เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าและแลกเปลี่ยนข้อมูลสนับสนุนการวิจัยของอาจารย์ประจำนักวิจัยตลอดจนเป็นห้องประชุมแลกเปลี่ยนติดตามความก้าวหน้าด้านงานวิจัยจนนำไปสู่การพัฒนาโครงการวิจัยและการดำเนินการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ

– มีคลินิกวิจัยชั้น 5 และมีสถาบันวิจัย รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลอ้างอิงสนับสนุนการวิจัยของนักวิจัยทั้งภายในและภายนอก

– คณะสังคมศาสตร์จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยของการวิจัย เช่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการส่งข้อเสนอโครงการวิจัยระบบ NRMS ซึ่งได้อาศัยระบบนี้จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

– คณะสังคมศาสตร์ ยังได้จัดกิจกรรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนข้อเสนอแนะการวิจัยและการเขียนบทความวิจัยเมื่อวันที่ 3-4 มีนาคม พ.ศ.2562 โดยมีการบรรยายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดการทำวิจัยพร้อมลงมือปฏิบัติ อีกทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้คำแนะนำการเตรียมบทความเพื่อนำไปลงในวารสาร tci ฐาน 1 ซึ่งในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ทางคณะสังคมศาสตร์ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการทำวิจัย ประกอบด้วย รศ.ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ รศ.ดร.พฤทธ์สรรค์ สุทธิไชยเมธี และรศ.ดร.สัญญา  เคณาภูมิ เป็นต้น

นอกจากนี้คณะสังคมศาสตร์ยังได้มีการสนับสนุนส่งเสริมให้อาจารย์ประจำทุกท่านได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติ ประชุมวิชาการระดับนานาชาติจากหน่วยงานภายนอกสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพและการนำบทความไปเผยแพร่ในงานประชุมวิชาการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้อาจารย์ประจำได้มีขวัญกำลังใจและมีความพร้อมในการพัฒนาตนเองด้านการวิจัยอีกด้วย

  1. จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์คณะสังคมศาสตร์ส่งเสริมให้อาจารย์ประจำทำงานวิจัยจัดหาแหล่งทุนจากทั้งภายในสถาบันและหน่วยงาน ราชการภายนอก สถาบันภายในหลัก ได้แก่ คณะสังคมศาสตร์จัดสรรงบประมาณในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในชั้นเรียนให้แก่อาจารย์ประจำคนละ 2,000 บาทต่อโครงการวิจัยและจัดสรรงบพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการเข้าไปร่วมกันนำเสนอบทความวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติ และนานาชาติอีกคนละ 3,000 บาทและสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้จัดสรรทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณต่าง ๆ ให้แก่อาจารย์เพื่อทำวิจัยในทุกด้านทั้งการวิจัยพื้นฐานการวิจัยประยุกต์การวิจัยและพัฒนารวมถึงการวิจัยสถาบันเพื่อสร้างองค์ความรู้สร้างผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ ผลวิจัยที่มหาวิทยาลัยให้การสนับสนุน ประกอบด้วย 1) ทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดิน 2) ทุนวิจัยจากเงินรายได้มหาวิทยาลัย
  2. จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ สถาบันวิจัยได้จัดสรรเงินรางวัลผลงานตีพิมพ์ให้แก่นักวิจัยของคณะสังคมศาสตร์ ที่มีผลงานตีพิมพ์งานวิจัยเผยแพร่ในงานประชุมวิชาการระดับชาตินานาชาติหรืองานวิจัยที่ลงวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานและสังคมยอมรับมีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้คณาจารย์ไปนำเสนอผลงานวิชาการในงานประชุมวิชาการทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
  3. มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัยและการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ดีเด่นแก่อาจารย์ประจำโดยการรวบรวมข้อมูลผลงานการวิจัยไว้ในระบบสารสนเทศของคณะ ดำเนินการสงเคราะห์องค์ความรู้และสำรวจความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์ประจำในทุกปีการศึกษาแล้วจึงจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แลกเปลี่ยนความรู้ความชำนาญและผลงานการวิจัยระหว่างอาจารย์ประจำกิจกรรมอบรมให้ความรู้มีดังนี้

– คณะสังคมศาสตร์จัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเขียนบทความวิจัยของอาจารย์ประจำนำไปสู่การตีพิมพ์เผยแพร่ในงานประชุมวิชาการและวารสารวิชาการต่าง ๆ ซึ่งกิจกรรมอบรมจะจัดเป็นประจำทุกปีการศึกษาเพื่อให้อาจารย์ประจำได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

– คณะสังคมศาสตร์จัดกิจกรรมสัมมนาการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยการวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านการวิจัยของอาจารย์ประจำและเพื่อส่งเสริมให้อาจารย์ประจำทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในชั้นเรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายและรูปแบบกิจกรรมเป็นการสัมมนาการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยการวิจัยการเขียนข้อเสนอแนะการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนการอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนข้อเสนอการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อลงมือปฏิบัติโดยมีอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิของคณะเป็นผู้พิจารณาให้คำแนะนำอาจารย์ที่เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ด้านการวิจัยเพิ่มมากขึ้นมีจำนวน งานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เป็นไปตามเป้าหมายที่คณะวางไว้

  1. มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรือการสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และการดำเนินการตามระบบที่กำหนดคณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีระบบการคุ้มครองสิทธิ์งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์และระบบการทำงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ไปใช้ประโยชน์โดยมอบหมายให้คณะกรรมการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ดำเนินงานตามระบบและคณะกรรมการได้ทำหนังสือประชาสัมพันธ์

รายการหลักฐาน

 

รหัสเอกสาร/หลักฐาน ชื่อรายการหลักฐาน/เอกสาร
2.2.1-1 http://bri.mcu.ac.th/new/
2.2.1-2 นโยบายด้านงานวิจัยของมหาวิทยาลัย
2.2.1-3 ระบบและกลไกสำหรับการบริหารจัดการงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
2.2.1-4 แผนพัฒนาบุคลากร คณะสังคมศาสตร์ ภายใต้แผนพัฒนาคณะสังคมศาสตร์ ระยะที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564 )
2.2.1-5 แผนพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย คณะสังคมศาสตร์
2.2.1-6 ภาพถ่ายสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์, ห้องสมุดมหาวิทยาลัย, ห้องสมุดจำนงค์ ทองประเสริฐ
2.2.1-7 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์
2.2.1-8 วารสาร มจร การพัฒนาสังคม
2.2.1-9 เกียรติบัตรและเอกสารที่เกี่ยวกับการเข้าร่วมสัมมนางานสัมมนาวิชาการระดับชาติ
2.2.1-10 ทุนสนับสนุนงานวิจัยของคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์
2.2.1-11 บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ
2.2.1-12 หนังสือขออนุมัติงบประมาณสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
2.2.1-13 เกียรติบัตรนักวิจัยที่มีผลงานระดับดีมาก
2.2.1-14 สรุปโครงการคลินิกวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา

 

เกณฑ์การประเมิน

 

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
มีการดำเนินการ
2 ข้อ
มีการดำเนินการ

3-4 ข้อ

มีการดำเนินการ
5 ข้อ
มีการดำเนินการ

6 ข้อ

 

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง การบรรลุเป้าหมาย
5 ข้อ 6 5 บรรลุ

 

 ตัวบ่งชี้ที่ 2.2              เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

ชนิดชองตัวบ่งชี้           ปัจจัยนำเข้า

ผลดำเนินงาน

 

ที่ รายการ หน่วยนับ ผลการดำเนินงาน
1 จำนวนอาจารย์ประจำ (นับเฉพาะที่ปฏิบัติงานจริงไม่นับรวมผู้ลาศึกษาต่อ) รูป/คน 98
2 จำนวนนักวิจัย (นับเฉพาะที่ปฏิบัติงานจริงไม่นับรวมผู้ลาศึกษาต่อ) รูป/คน
3 จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยทั้งหมด (นับเฉพาะที่ปฏิบัติงานจริงไม่นับรวมผู้ลาศึกษาต่อ) รูป/คน 98
4 จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยจากภายในและภายนอกทั้งหมด บาท 16,390,500
   4.1 จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยจากภายใน บาท 2,445,000
   4.2 จำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยจากภายนอก บาท 13,945,500
5 แปลงจำนวนเงินที่คำนวณได้เทียบกับคะแนนเต็ม 5 โดยกำหนดให้คะแนนเต็ม 5 = 25,000 คะแนน 5

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง การบรรลุเป้าหมาย
25,000 ต่อหัว 167,250 ต่อหัว 5 บรรลุ

 

 

รายการหลักฐาน

 

รหัสเอกสาร/หลักฐาน ชื่อรายการหลักฐาน/เอกสาร
2.2.1-1 ทุนสนับสนุนงานวิจัยของคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ จำนวน 21 โครงการ รวมทั้งสิ้น 16,390,500 บาท แบ่งเป็น

1. ทุน สถาบันวิจัย จำนวน 16 ทุน

จำนวนทั้งสิ้น 2,445,000บาท

2. ทุน สสส. จำนวน 5 ทุน

จำนวนทั้งสิ้น 13,945,500บาท

 

 

ตัวบ่งชี้ที่ 2.3               ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

ชนิดของตัวบ่งชี้           ผลผลิต

ผลงานวิชาการ

 

ที่ รายการ หน่วยนับ ผลการดำเนินงาน
1 จำนวนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์มีค่าน้ำหนัก 0.20 เรื่อง 48
2 จำนวนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์มีค่าน้ำหนัก 0.40 เรื่อง 12
3 จำนวนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์มีค่าน้ำหนัก 0.60 เรื่อง 7
4 จำนวนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์มีค่าน้ำหนัก 0.80 เรื่อง 63
5 จำนวนผลงานวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์มีค่าน้ำหนัก 1.00 เรื่อง 19
5.1 จำนวนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ เรื่อง 6
5.2 จำนวนผลงานได้รับการจดสิทธิบัตร เรื่อง
5.3 จำนวนผลงานวิชาการรับใช้สังคมที่ผ่านการประเมินตำแหน่ง

ทางวิชาการแล้ว

เรื่อง
5.4 จำนวนผลงานวิจัยที่หน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติว่าจ้างให้

ดำเนินการ

เรื่อง 1
5.5 จำนวนตำราหรือหนังสือที่ผ่านการประเมินตำแหน่งทาง

วิชาการแล้ว

เรื่อง 5
5.6 จำนวนตำราหรือหนังสือที่ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งทางวิชาการแต่ไม่ได้นำมาขอรับการประเมินตำแหน่งทางวิชาการ  

เรื่อง

 

7

 

ผลการดำเนินงาน

ที่ รายการ หน่วยนับ ผลการดำเนินงาน
1 จำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด รูป/คน 98
2 ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานวิชาการ/ผลงานสร้างสรรค์ ของอาจารย์ประจำ ผลรวม
ถ่วงน้ำหนัก
88
3 ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานวิชาการ/ผลงานสร้างสรรค์ ของอาจารย์ประจำ ร้อยละ 89.79
4 แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้เทียบกับคะแนนเต็ม 5 โดย

กำหนดให้คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20

เทียบคะแนน 5 คะแนน (=22.44 คะแนน)

คะแนน  

5

 

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน คะแนนการประเมินตนเอง การบรรลุเป้าหมาย
ร้อยละ 20 89.79 5 บรรลุ

 

รายการหลักฐาน

ลำดับ /

ค่าถ่วงน้ำหนัก

ชื่อ ฉายา นามสกุล

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่

 

0.20
  1 พระครูปริมานุรักษ์ รศ.ดร. พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ”ในการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งที่ 10 ระดับชาติครั้งที่ 3 วิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระเกียรติฯ. วันที่ 15 พฤษภาคม 2562. น.
  2 พระครูปริยัติกิตติธำรง. รศ.ดร. การศึกษาและพัฒนาการภาวะผู้นำเชิงพุทธ. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. ประจำปี พ.ศ. 2562/2019. หน้า 213 – 232. [Click PDF]
  3 พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ,รศ.ดร. พระสงฆ์กับความขัดแย้งทางการเมืองในท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณี พระครูวิบูลสิทธิธรรม เจ้าอาวาสวัดหนองพะยอม จังหวัดพิษณุโลก, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561. น.276-286. [PDF Thaijo]
  4 ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะภายใต้หลักภาวนา 4 ในผู้ที่นอนติดเตียงของพระสงฆ์ จังหวัดลำพูน, ในการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งที่ 10 ระดับชาติครั้งที่ 3 วิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระเกียรติฯ. วันที่ 15 พฤษภาคม 2562 น.301-309. [Click Full Text]
  5 พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, ผศ.ดร. ถอดบทเรียนจากพื้นที่ : การดูแลผู้สูงอายุตามแนวพุทธในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจัยวิชาการ. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน) (2562) : 146-169. [Full Text Thaijo]
  6 ผู้สูงอายุต้นแบบตามแนวพุทธ: กรณีศึกษาหลวงพ่อวัดบางเบิด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร [สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ  กทม.]. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561).
  7 ถอดบทเรียนจากพื้นที่ : การดูแลผู้สูงอายุตามแนวพุทธในจังหวัดสมุทรสงคราม, การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 1. “พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562 ณ อาคารเรียนรวม วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
  8 พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร, ผศ.ดร. Theravada Buddhism: Gender’s Right and Ordination in Thai Society”.  ในงานสัมมนาเรื่อง  “Theravada Buddhism in Vietnam and Thailand : The Regional Culture Dialogue”จัดประชุมโดย Thai  Studies Center, University of Social Sciences and Humanities, Vietnam National University, Ho Chi Minh City, Vietnam (USSH, VNU-HCM  ระหว่าง 13-16 กันยายน 2561
  9 การสังคมสงเคราะห์แนวพุทธ : แนวทางการจัดตั้งโรงพยาบาลสงฆ์เพื่อสวัสดิการด้านสุขภาวะของพระภิกษุสามเณร พระสังฆาธิการและชุมชนวัดในประเทศไทย    การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 MCU Nan Congress II เรื่อง การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาจิตใจและสังคมอย่างยั่งยืนในยุค Thailand 4.0  9 กันยายน พ.ศ. 2561  วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  10 การล้อมปราบจากรัฐสู่ศาสนา : จับพระพิมลธรรมสึก มายาคติว่าด้วยความเป็นลาว ความก้าวหน้า และคอมมิวนิสต์   การประชุมวิชาการระดับชาติ พื้นถิ่นโขง ชี มูล ราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 3 ศูนย์การเรียนรู้พุทธศิลป์ถิ่นอีสาน สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอดรธานี 64 ถ.ทหาร ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี ระหว่าง 25-26 ตุลาคม 2561.
  11 พระครูสุภัทรกิจจานุการ อุเบกขากับผู้นำทางการเมือง. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อ พุทธปัญญากับทศวรรษแห่งการพัฒนาที่ยังยืน. วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 9-10 พฤศจิกายน 2561
  12 พระปลัดมนู ฐานจาโร การพัฒนาเพื่อการบริหารจัดการสู่การเปลี่ยนผ่านศตวรรษที่ 21 : ไทยแลนด์ 4.0 .ใน MCU Nan Congress II การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาจิตใจและสังคมอย่างยั่งยืนในยุค Thailand 4.0. วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 9 กันยายน 2561.หน้า 35 – 42.
13 ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง ประสิทธิผลการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. ตีพิมพ์ในเอกสารการประชุมทางวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings) 8 เม.ย. 62.
14 สัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา”. ตีพิมพ์ในเอกสารการประชุมทางวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings) 8 เม.ย. 62.
15 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานกำจัดมูลฝอยของเทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด”. ตีพิมพ์ในเอกสารการประชุมทางวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings) 8 เม.ย. 62.
16 การบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ”. ตีพิมพ์ในเอกสารการประชุมทางวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings) 8 เม.ย. 62.
17 การจัดการภาครัฐ : การเสื่อมศีลธรรมของคนในสังคมไทย” วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561. 77-89.
18 ผศ.ดร.ธวัชชัย สมอเนื้อ การทูตเชิงวัฒนธรรมกับการสร้างวัดไทยลุมพินี, การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 INC2019: Mcu NanThe 3rd National Conference 2019 วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 15 พฤษภาคม 2562. หน้า 1006-1016.
19 ศ.พล.ต.ท.หญิง ดร.นัยนา เกิดวิชัย การพัฒนาสมรรถนะตามหลักอิทธิบาท 4. สัมมนาบทความวิชาการระดับชาติ คณะพุทธศาสตร์ ครั้งที่ 1 วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2562 ณ ห้องเธียร์เตอร์ โซน D ชั้น 1 อาคารเรียนรวม ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา : 216-225.
20   การบริหารจัดการพัฒนาตัวแทนและนายหน้าประกันภัยให้มีความสุจริตใจอย่างยิ่ง. สัมมนาบทความวิชาการระดับชาติ คณะพุทธศาสตร์ ครั้งที่ 1 วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2562 ณ ห้องเธียร์เตอร์ โซน D ชั้น 1 อาคารเรียนรวม ต.ลาไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา : 226-235.
21 ผศ.ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี จริต 6 ทฤษฎีการประสานงานของพระพุทธเจ้า” วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561. 29-44.
22 กลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยไตรสิกขา” วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561. 57-67.
23 สัปปุริสธรรมทฤษฎีการบริหารตนเอง”วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561. 69-76.
24 ไตรลักษณ์กับกระบวนการพัฒนาชุมชน” วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561. 91-100.
25 บริหารจัดการคณะสงฆ์ไทยอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ” วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561. 101-115.
26 อิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อการบริหารจัดการ”วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561. 117-125.
27 รัฐธรรมนูญไทยสู่การปฏิวัติการบริหารงานท้องถิ่นไทย” วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561. 127-137.
28 การบริหารงานตามหลักอปหานิยธรรม” วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561. 139-147.
29 การพัฒนาบุคลากรต้นแบบของการพัฒนาองค์กร” วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561. 149-158.
30 ภาวะผู้นำในการบริหารองค์กรยุค 4.0” วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2561. 1-13.
31 สื่อออนไลน์บ่อเกิดของปัญหาสังคม : การบริหารสติคือทางออก” วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2561. 25-33.
32 หลักสัปปุริสธรรมกับการแก้ไขวิกฤติปัญหาสังคม” วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2561. 51-65.
33 ดร.วสันต์ ลิ่มรัตนภัทรกุล การเมืองเรื่องข้าว บทสะท้อนรูปแบบการเมืองภาคพลเมือง, นำเสนอ สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย 2561 [PDF Full text ]
34   ทุนทางสังคมกับการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น, นำเสนอ งานประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561
35 ผศ.ดร.ผดุง วรรณทอง ธรรมชาติของผู้เรียน ธรรมชาติของการเรียนรู้. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. ประจำปี พ.ศ. 2562/2019. หน้า 355 – 366. [Click PDF]
36 อ.ดร.เอนก  ใยอินทร์ การพัฒนากิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในเทศกาลที่มีการเฉลิมฉลอง, การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 INC2019: Mcu NanThe 3rd National Conference 2019 วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 15 พฤษภาคม 2562.น.1591-1597.
37 อ.ปิยวรรณ หอมจันทร์ Project based Learning: ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21, ในการประชุมวิชาการระดับชาติการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาจิตใจและสังคมอย่างยั่งยืนในยุค Thailand 4.0 ครั้งที่ 2.(น.596-607) น่าน : วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วันที่ 9 กันยายน 2561.
38 จริยธรรมในวัฒนธรรมองค์การ, การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 INC2019: Mcu NanThe 3rd National Conference 2019 วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 15 พฤษภาคม 2562.น.900-914.
39 ผศ.ดร.อนุวัต กระสังข์ การพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลบางละมุง จังหวัดชลบุรี”. ตีพิมพ์ในเอกสารการประชุมทางวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings) 8 เม.ย. 62.
40 การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการออกกฏหมายเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา” วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2561. 15-24.
41 ดร.พิรจักษณ์ ฉันทวิริยสกุล เสรีภาพการบรรจุภัณฑ์ส่งผลกต่อขยะมูลฝอยล้นเมืองจริงหรือ.ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อ พุทธปัญญากับทศวรรษแห่งการพัฒนาที่ยังยืน. วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 9-10 พฤศจิกายน 2561
42 ดร.ศุภกิจ ภักดีแสน ภาวะผู้นำทางวิชาการ: ผู้นำวิถีพุทธ” ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อ พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (22 กุมภาพันธ์ 2562 หน้า 269).  
43   ปัจจัยและกระบวนการสร้างหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในจังหวัดแพร่” ในMCU Nan Congress II การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาจิตใจและสังคมอย่างยั่งยืนในยุค Thailand 4.0. วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (9 กันยายน 2561 หน้า 345-365).
44 ดร.ศิรวัฒน์ ครองบุญ รัฐประศาสโนบายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของพระเจ้าอโศกมหาราช” ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อ พุทธปัญญากับทศวรรษแห่งการพัฒนาที่ยังยืน. วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (9-10 พฤศจิกายน 2561 หน้า 64).
45 การพัฒนาภาวะผู้นำตามแนววิชาการสมัยใหม่” ในการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 ภายใต้หัวข้อ Blockchain in Education: The New Challenge for Academy Reform. วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย (5-6 ตุลาคม 2561 หน้า 1369-1381).
46 ดร.ทักษิณ  ประชามอญ แนวทางการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ปัญหาเกษตรกรลุ่มน้ำลี้ ขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าพลู อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 1 พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. 22 กุมภาพันธ์ 2562. ณ วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด. หน้า 1549-1558.

 

47 กระบวนการปลูกฝังจิตอาสาเพื่อสังคมสำหรับเยาวชนตามแนวพุทธ. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 5 ต้นทุนอารยธรรม ตามรอยวิถีครูบา และเส้นทางบุคคลสำคัญของโลก วันที่ 7 เมษายน 2562 วิทยาลัยลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หน้า 208-219.
48 ผศ.ดร.ภัทรพล ใจเย็น “พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาความจนด้วยหลักอริยสัจ 4”.ในการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งที่ 10 ระดับชาติครั้งที่ 3 วิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระเกียรติฯ. วันที่ 15 พฤษภาคม 2562. น.

 

ลำดับ /

ค่าถ่วงน้ำหนัก

ชื่อ ฉายา นามสกุล

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่

 

0.40
1 พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. การพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจับยึดและพลิกคัมภีร์ใบลานอัตโนมัติสำหรับการถ่ายภาพดิจิทัลเพื่ออนุรักษ์คัมภีร์ธรรมทางพระพุทธศาสนา” (ผู้เสนอร่วม) เสนอการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2561 (IE NETWORK CONFERENCE 2018) (วันที่ 23-25 กรกฎาคม 2561) ณ จังหวัดอุบลราชธานี.
2 พระอุดมสิทธินายก, ผศ.ดร. Buddhist Perspective for the Balance of Family Life. One Day International Symposium, Department of Management Science, Dr Babasaheb Ambedkar Marathawada University, Aurangabad, India, 24 September 2018 and   INTERNATIONAL JOURNAL OF MANAGEMENT AND ECONOMICS Special Issue  ISSN: 2231 – 4687   Impact Factor-1.50 (IIFS)   UGC Referred Journal No:-64206, Vol. I No. 25, September 2018. pp. 25-27.
3 Current Management Practice & Leadership in Global Perceptive. One Day International Symposium, Department of Management Science, Dr Babasaheb Ambedkar Marathawada University, Aurangabad, India, 24 September 2018.
4 พระคมสัน ฐิตเมธโส, ผศ. Buddhism and Hidden Economy Distribution”. Contributed to The 1st International Annual Conference Southeast Vietnam Outlook 2018.
5 พระครูปลัดอุดร ปริปุณฺโณ, ดร การจัดการวัดยุค 4.0 ความเชื่อ ความศรัทธา และพุทธพาณิชย์ วารสาร มจร การพัฒนาสังคม ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2561. หน้า 67-78
6 พระอธิการบุญส่ง คุณสํวโร ปัญหาสังคม : แนวคิด ทฤษฎี และแนวทางการแก้ไข วารสาร มจร พัฒนาสังคม ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2562)
7 พระครูศรีรัตน์สรกิจ

(อินทร์วิชิต),ดร.

 

แนวทางการแก้ไขปัญหาการบวช : การปะทะกันระหว่างคุณค่าเชิงวัฒนธรรมไทยกับคุณค่าใหม่ในสังคมปัจจุบัน วารสาร การพัฒนาสังคม ปีที่ 4 ฉบับที่ 1(มกราคม-เมษายน 2562)
8 ผศ.ดร.ผดุง วรรณทอง กระบวนการพัฒนาสู่ความเป็นผู้นำสงฆ์. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม 2561) หน้า 122 -131.
9 วินัย มีมาก การจัดกิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนหมู่บ้าน วัดคำหยาด ตำบลคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง  วารสาร มจร การพัฒนาสังคม ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2561. หน้า 105-121
10 ผศ.ดร.ภัทรพล ใจเย็น Resource Management Based on Buddhist Approach According to Government Administration in Thailand 4.0 Era“. International Journal of Managment and Economics. Vol. I No.25 September-2018.
11 ผศ.ดร.พิเชฐ  ทั่งโต Annam Nikaya Buddhism on Vietnamese Style in Thailand:  History and Development. International Conference , Thu Dau Mot University-Trường Đại Học Thủ Dầu Một  Thu Dau Mot City, Binh Duong Province, Vietnam.  7-8 December 2018. pp.506-521.
12   Buddhist Economics: Resource Management Based on Buddhist Approach : According to Government Administration in Thailand 4.0 Era. One Day International Symposium, Department of Management Science, Dr Babasaheb Ambedkar Marathawada University, Aurangabad, India, 24 September 2018. pp.

 

ลำดับ /

ค่าถ่วงน้ำหนัก

ชื่อ ฉายา นามสกุล

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่

 

0.60
1 พระมหาสุเทพ สุปณฺฑิโต, ผศ.ดร. การวิจัยและพัฒนานิสิตธรรมทายาทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน 2562). หน้า 1 -10.
2 รศ.ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมประสิทธิผล ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. ปีที่ 7  ฉบับที่ 3 (2561): 76-89.
3 ศ.พล.ต.ท.หญิง ดร.นัยนา เกิดวิชัย POSDCoRB และ Good Governance สำหรับ Startup ในยุค Thailand 4.0 (POSDCoRB and Good Governance for Startup in Thailand 4.0 era). วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2562).
4 การพัฒนาองค์การตามหลักธรรมาภิบาลในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1  (มกราคม – มิถุนายน 2562).
5 นวัตกรรมการบริหารองค์การในยุคดิจิทัล. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1  (มกราคม – มิถุนายน 2562).
6 Developing a Forecasting Model to Enhance the Efficiency of Sustainable Development policy: Enriching the LS-ARIMAX madel. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2562).
7 ดร.ศิรวัฒน์ ครองบุญ. การพัฒนาทุนมนุษย์ตามแนวพุทธ : ยุคไทยแลนด์ 4.0 Buddhism-Based Human Capital Management in Thailand 4.0” วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2562).

 

 

 

 

 

 

 

ลำดับ /

ค่าถ่วงน้ำหนัก

ชื่อ ฉายา นามสกุล

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่

 

0.80
1 พระเมธีธรรมาจารย์,รศ.ดร. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการพัฒนานักบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2561 หน้า 147-162.
2 พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. การท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรม นโยบาย ผลกระทบ และการจัดการเชิงเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกร่วมทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของประชาคมอาเซียน”
3 พระสุธีวีรบัณฑิต, ดร. เซเปียนส์ ประวัติย่อมนุษยชาติ SapiensA Brief History of Humankind.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2562 หน้า 294-312.
4 รูปแบบการจัดการการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในจังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 4กันยายน-ธันวาคม 2561 หน้า 109-122.
5 แอนิมอล ฟาร์ม:การปฏิวัติชั้นทางสังคมสู่เสรีนิยมความเสมอภาคและความสงบสุข. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2561 หน้า 294-307.
6 ตอบเรื่องพ.ร.บ.คณะสงฆ์: กลไกการบริหารและแก้ปัญหาคณะสงฆ์บทสรุปที่ยังไม่มีทางออก ?. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 3กรกฎาคม-กันยายน 2561หน้า 315-329.
7 การบริหารการเงินของวัดในประเทศ : ความสอดคลองตามหลักธรรมาภิบาลทิศทางการบริหารเงินวัด ทรัพยสินพระศาสนาในชวงกระแสเปลี่ยนผ่าน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2561 หน้า 505-518.
8 รัฐกับศาสนา: ศีลธรรม อำนาจ และอิสรภาพ ความขัดกันภายใต้ความเป็นอื่น ความรุนแรงจากรัฐสู่ศาสนา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2561 หน้า 273-292.
9 พุทธบูรณาการเพื่อการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในพระพุทธศาสนา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2561.

 

10 พระอุดมสิทธินายก, ผศ.ดร. การพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชนวิถีพุทธของพระสังฆาธิการในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม – กันยายน2561) : 38-49.
11 รูปแบบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของสำนักเรียนพระปริยัติ ธรรมแผนกบาลีในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 14. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม – กันยายน 2561) : 50-63.
12 รูปแบบการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสําหรับเยาวชน ของวัดในจังหวัดสิงห์บุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2561) : 173-184.
13 รัฐประศาสนศาสตร์เปลี่ยนโลก. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2  (เมษายน-มิถุนายน 2562) : 301-315.
14 พุทธธรรมาธิปไตย.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2  (เมษายน-มิถุนายน 2562) : 239-246.
15 พระครูธรรมธรบงกช คนฺธาโร, ดร. ความมั่นคงทางจิตใจ: ลดความเสี่ยงช่วยแก้ปัญหาสังคม” ในวารสารมหาจุฬาวิชาการ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561 หน้า 141-150).  
16 พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท, ดร. การบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดสมุทรปราการ.  วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2562) : 13-26.
17 การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดปัตตานี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม) : 42-58.
18 เทศนาวิธีเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอําเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2  (เมษายน-มิถุนายน 2561) : 195-207.
19 การบริหารจัดการด้านศาสนศึกษาแผนกบาลีของพระสังฆาธิการในจังหวัดพิจิตร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2  (เมษายน-มิถุนายน 2561) : 184-194.
20 พระปลัดระพิน พุทธิสาโร, ผศ.ดร. รูปแบบการพัฒนาชุมชนยั่งยืนของพระสังฆาธิการในจังหวัดชลบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 3  กรกฎาคม-กันยายน 2561 : 15-25.
21 การพัฒนาการบริหารจัดการที่เหมาะสมในการปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 3  กรกฎาคม-กันยายน 2561 : 26-39.
22 พระครูวินัยธรเอก ชินวํโส,ดร. กลไกการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชน ผ่านมิติศาสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.  วารสารสังคมปริทรรศน์ มจร. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน). หน้า 503 – 518
23 พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ, ผศ.ดร. การพัฒนาบทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมโครงการตลาดประชารัฐเพื่อประชาชน ในกรุงเทพมหานคร.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม : 1-12.
24 รูปแบบการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับวัยรุ่นไทยยุคใหม่ตามหลักพุทธธรรม ผ่านกลไกการขับเคลื่อนโครงการคลินิกคุณธรรม ของพระธรรมวิทยากร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม) : 59-70.
25 ภาวะผู้นำในการปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการอำเภอ บางบาลจังหวัด พระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2562) : 84-95.
26 การสื่อสารเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในเขตหนองจอกกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2561) : 405-418.
27 การจัดการสิ่งแวดล้อมภายในวัดของพระสังฆาธิการในอําเภอวังน้อยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2561) : 301-309.
28 บทบาทของพระสังฆาธิการในการช่วยเหลือเกื้อกูลประชาชนอําเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2561) : 246-255.
29 การบริหารจัดการด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี.มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2562) : 29-42
30 ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษานอกสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2561) : 86-98.
31 ศ.ดร.กฤช เพิ่มทันจิตต์ นโยบายศาสตร์ : ข้อสังเกตเชิงวิพากษ์ถึงข้อจำกัดและศักยภาพในอนาคต. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์.  ปีที่ 7  ฉบับที่ 2 (2561): 215-223.
32 กลยุทธ์การสร้างความร่วมมือของภาคประชาชนกับตำรวจ ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์.  ปีที่ 7  ฉบับที่ 3 (2561): 64-75.
33 รศ.ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร การบริหารจัดการงานสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์.  ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 เมษายน-มิถุนายน 2561: 41-36.
34 รศ.ดร.โกเมศ  ขวัญเมือง ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความพยายามทำให้สหภาพเมียนมาร์เป็นประชาธิปไตยตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ค.ศ.2008.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์.  ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2561: 74-85.
35 พรรษา พฤฒยางกูร รูปแบบการจัดการความรู้ตามหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2562) : 69-56
36 ผศ.ดร.พิเชฐ  ทั่งโต การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมประสิทธิผล ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี, วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม 2561.น.76-89.
37 ผศ.พลวัฒน์ ชุมสุข “การป้องกันและการแก้ไขปัญหาจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ตามแนวพุทธเศรษฐศาสตร์”. วารสาร  มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 กรกฏาคม-กันยายน 2561.
38 ผศ.ชวัชชัย ไชยสา “รัฐศาสตร์ในราชนีติ”. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ ปริทรรศน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2562). หน้า 296-305

 

39 ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง รูปแบบการจัดการทุนมนุษย์เชิงพุทธขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์”. วารสาร  มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2561: 101-113.
40 การจัดการสินค้าชุมชนตามวิถีพุทธในจังหวัดกาญจนบุรี”. วารสาร  มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2561: 281-292.
41 รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีประสิทธิผลตามหลักพุทธธรรม”. วารสาร  มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2561: 312-322.
42 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย”. วารสาร  มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2561: 408-421.
43 การปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”. วารสาร  มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2561: 435-444.
44 การพัฒนาต้นแบบวิทยากรพระธรรมทูตสุขภาวะเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะและป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุงในพระสงฆ์จังหวัดน่าน”. วารสาร  มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 3  กรกฎาคม-กันยายน 2561: 112-119.
45 ผศ.ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี การพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชนวิถีพุทธของพระสังฆาธิการในจังหวัดกาญจนบุรี”. วารสาร  มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 3  กรกฎาคม-กันยายน 2561: 38-49.
46 ภาวะผู้นำการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”. วารสาร  มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 3  กรกฎาคม-กันยายน 2561: 298-314.
47 การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมความสมานฉันท์ในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์. มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2562) : 57-68.
48 การพัฒนาจิตอาสาของพระสังฆาธิการในจังหวัดระยอง, วารสาร  มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 6 ฉบับพิเศษ (16 พฤษภาคม 2561) : 37-49.
49 รูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามหลักพุทธธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา. มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2562) : 240-253.
50 รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน.มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2562) : 96-109.
51 ผศ.ดร.อนุวัต กระสังข์ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษานอกสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”. วารสาร  มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 , เมษายน-มิถุนายน 2561: 86-98.
52 ผศ.ดร.ผดุง วรรณทอง การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารองค์กรเอกชนในจังหวัดนนทบุรี. วารสาร  มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 , เมษายน-มิถุนายน 2561: 99-110.
53 ดร.สุริยา รักษาเมือง การพัฒนาการจัดการความรู้เชิงพุทธเพื่อการบริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสาร  มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 4. ตุลาคม-ธันวาคม 2561: 52-64
54 ธรรมาธิปไตย : อุดมคติเพื่อการสร้างความสมดุลแห่งอำนาจในการปกครองรัฐ.วารสาร  มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 4. ตุลาคม-ธันวาคม 2561: 150-157
55 การมีส่วนร่วมด้านนโยบายภาครัฐสำหรับการดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดพิจิตร.มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2562 : 43-56
56 ดร.ประเสริฐ ธิลาว บทบาทพระพุทธศาสนาในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคม. วารสารธรรมศาสตร์. ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2562. หน้า 122-142.
57 บทบาทเชิงรุกของพระสงฆในการสงเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดชลบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2561หน้า 291-300.

 

58 การจัดการสินคาชุมชนตามวิถีพุทธในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7ฉบับที่ 2  เมษายน-มิถุนายน 2561 หน้า 278-290.
59 การจัดทําบัญชีเพื่อการจัดการศาสนสมบัติของวัด ในอําเภอพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2561หน้า 256-266.
60 แนวทางแก้ไขปัญหาการปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในอาเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ.  มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2562) : 43-56
61 ผศ.ดร.รัฐพล เย็นใจมา การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมค่านิยมของการประปานครหลวง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7ฉบับที่ 4  ตุลาคม-ธันวาคม 2561หน้า 24-38.
62 ความขัดแย้งในสังคม : ทฤษฎีและแนวทางแก้ไข.มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2561 : 224-238
63 ดร.กาญจนา  ดำจุติ วิสาหกิจผ้าหม้อห้อมจังหวัดแพร่จังหวัดแพร่ : องค์ความรู้และการจัดการเชิงเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการธรรมปริทรรศน์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มีนาคม 2562). หน้า 33-43.

 

ลำดับ /

ค่าถ่วงน้ำหนัก

ชื่อ ฉายา นามสกุล

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่

 

1.00
1 พระครูปริยัติกิตติธำรง.รศ.ดร. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและปัญหาสังคม. บริษัทจรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ : กรุงเทพมหานคร. (2561).
2 พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. พระพุทธศาสนากับชุมชนเข้มแข็ง คู่แฝดแห่งอาริยพัฒนา.” พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์, 2561
3 LIST Model For Research and Social Development.” พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์, 2561.

 

4 พระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 1 สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
5 พระสุธีวีรบัณฑิต, ดร. การจัดการสมัยใหม่ กรณีศึกษา พัฒนาการ แนวคิดสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2.พระนครศรีอยุธยา : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2561 จำนวน 170 หน้า
6 พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ,รศ.ดร. Concept and Model of Cultural Politics, International Journal of Management and Economics Vol.1 No.25 September 2018. ISSN 2231-4687
7   การขับเคลื่อนโครงการสังฆพัฒนาวิชชาลัย , พิมพ์ครั้งที่ 1, นนทบุรี : นิติธรรมการพิมพ์, 2562. จำนวน 278 หน้า. ISBN : 978-616-300-550-2
8 พระชลญาณมุนี,ดร. พระชลญาณมุนี,ดร. (พฤศจิกายน 2561). ภาวะผู้นำเชิงพุทธ .ISBN 978-616-478-287-7.กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
9 พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ.ผศ.ดร. กลไกการขับเคลื่อนศักยภาพขีดความสามารถของผู้สูงอายุโดยบูรณาการหลักพุทธธรรม  วารสารสหวิทยาการวิจัย. ฉบับบัณฑิตศึกษา. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) : 26-32.
10 การจัดโครงการขั้นสูง : Advance Project Management.

พระนครศรีอยุธยา : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2561 จำนวน     หน้า

11 พระครูวินัยธรเอก ชินวํโส, ดร. การจัดการสาธารณูปการมิติพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 1. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.2561 จำนวน  332 หน้า
12 รศ.ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร Factors Related to Good Governance Management of a Local Administration Organization in Thailand. International Journal of Management and Economics. Vol. I No. 25: 1-4.
13 รศ.ดร.ธัชชนันท์ อิศรเดช ภาวะผู้นำทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย.2559 จำนวน 373 หน้า
14 รศ.อนุภูมิ โซวเกษม การบริหารองค์กรสงฆ์ในประชาคมอาเซียน. ฉบับปรุงครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร: บริษัท เจ พริ้น จำกัด, 2561. จำนวน 240 หน้า.
15 ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง หลักสังคมวิทยา PRINCIPLES OF SOCIOLOGY.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด, 2560.
16 ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์  สุขเหลือง Knowledge, Attitude and Practice towards Metabolic Syndrome Prevention among Buddhist Monksin Nan Province, Thailand: A Preliminary Study” International Journal of Management and Economics. Vol. I No. 25 (September -2018).
17 ผศ.ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี “Education Reforn in Thailand 4.0 : A True Story or a Soap Opera” A Sian Political Science Review. Volume 2 Number 2 (July-December 2018)
18 ดร.พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์ Integration of Buddhist principles to promote the values of honesty of Thai politicians” International Journal of Management and Economics. Vol.1 No.25 September – 2018, p. 39 – 48.
19 ผศ.ดร.ธวัชชัย สมอเนื้อ พุทธวิธีการบริหาร, พิมพ์ครั้งที่ . พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.2561 จำนวน  423 หน้า

 

วิเคราะห์จุดแข็งและจุดที่ควรพัฒนา องค์ประกอบที่ 2

จุดแข็ง

คณะสังคมศาสตร์ให้ความสำคัญกับการสร้างงานวิจัยและงานสร้างสรรค์โดยคณาจารย์ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยทั้งภายในและภายนอกสถาบันเป็นจำนวนมาก

 

 

จุดที่ควรพัฒนา

  1. คณะสังคมศาสตร์ยังขาดการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิชาจากผลงานวิจัยในวารสารวิชาการในระดับชาติและนานาชาติ รวมถึงบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ
  2. มีงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน สังคม ประเทศชาติและพระศาสนา จำนวนน้อย
  3. ควรมีการกระจายทุนวิจัยอย่างกว้างขวาง

แนวทางเสริมจุดแข็งและปรับปรุงจุดที่ควรพัฒนา

  1. คณะสังคมศาสตร์ ควรพัฒนาระบบและกลไกการสร้างผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติโดยเฉพาะองค์ความรู้ใหม่อันจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานหรือส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องหรือประเด็นดังกล่าว
  2. ควรมีการประชาสัมพันธ์เวทีในระดับชาติและนานาชาติที่สนับสนุนแก่คณาจารย์ในคณะ ในการนำเสนอผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ผลิตขึ้น

 

 

 

Comments